วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรอบแนวคิดและการตั้งสมมติฐานการวิจัย (ต่อ)

แหล่งที่มาของสมมติฐาน

 โดยที่สมมติฐานเป็นการคาดคะเนผลการวิจัยก่อนที่จะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ฉะนั้น เพื่อให้คำตอบหรือสมมติฐาน นั้นมีความน่าเชื่อถือหรือถูกต้องมากที่สุด ผู้วิจัยควรหาวิธีการและเหตุผลที่จะนำมาใช้ประกอบหือสนับสนุนการกำหนดสมมติฐาน ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยอาจศึกษาจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้

 1.   ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้วิจัย เพราะในการทำวิจัยเรื่องหนึ่งเรื่องใด นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้หรือมีประสบการณ์อย่างดีในเรื่องที่จะทำ เพราะความรู้ ความสามรถ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง (หรือพัฒนาขึ้นโดยการศึกษาหาความรู้ เช่น การอ่าน เป็นต้น) จะช่วยให้การกำหนดสมมติฐานเป็นไปในลักษณะที่ถูกต้อง หรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง

2.  การใช้หลักเหตุผล  สมมติฐานที่กำหนดขึ้นต้องสมเหตุสมผล ฉะนั้นผู้วิจัยจึงควรใช้หลักเหตุผลหรือความเป็นไปได้มาคิดวิเคราะห์หรือแยกแยะสิ่งต่างๆ เพื่อหาเหตุ และผล ว่ามีอะไรสำคัญ และอะไรที่มีความสัมพันธ์กัน จากการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลนี้เอง ที่นำมาซึ่งการสร้างสมมติฐานที่ดี

3.  การใช้ทฤษฎี แนวคิด และหลักการ  ทั้งนี้เพราะทฤษฎี แนวคิด และหลักการต่างๆ เป็นสิ่งที่ได้รับการยืนยันสนับสนุน และพิสูจน์มาแล้ว ฉะนั้น หากผู้วิจัยมีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎี หลักการ และแนวคิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัยอย่างดีแล้ว จะทำให้ผู้วิจัยเกิดแนวคิดในการกำหนดสมมติฐานได้

4. การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาค้นคว้าจากแหล่งดังกล่าวนี้ จะให้ประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้วิจัย ในการที่จะนำไปใช้กำหนดสมมติฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลการวิจัยในประเด็นปัญหาทำนองเดียวกัน  เช่น ต้องการศึกษาเรื่องความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของนักประชาสงเคราะห์ ท่านอาจไปค้นคว้าดูว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นตำแหน่งอื่นบ้างหรือไม่ ถ้ามีก็ให้ดูต่อไปว่าผลการศึกษานั้นๆ พบว่าอย่างไร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร เป็นต้น

5. การศึกษาเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบความเป็นจริงต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ หรือเปรียบเทียบกับความเป็นจริงที่ค้นพบในสาขาวิชาอื่นๆ ศาสตร์อื่นๆ อาจทำให้ผู้วิจัยสามารถนำไปกำหนดสมมติฐานได้ เพราะการวิจัยบางเรื่องต้องใช้วิธีการกำหนดสมมติฐานในเชิงเปรียบเทียบ

 6. ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ  ความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ ที่เชื่อถือกันมากๆ สามารถนำมากำหนดเป็นสมมติฐานในการวิจัยได้ เช่น ในการส่งเสริมให้ประชาชนใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ต้องพบกับปัญหามากมาย โดยที่ปัญหาหนึ่งพบว่า ผู้ชายไทยมีความเชื่อว่า การใช้ถุงยางอนามัยเปรียบเสมือนการอาบน้ำโดยไม่ถอดเสื้อผ้า ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดถอยลง หรือในการรณรงค์ให้บิดามารดาส่งบุตรหลานเข้าเรียนในสถานศึกษาใกล้บ้าน พบว่าค่านิยมเกี่ยวกับชื่อเสียงของสถานศึกษาทำให้การรณรงค์นี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าความเชื่อ ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมต่างๆ อาจนำมากำหนดเป็นสมมติฐานสำหรับนำไหพิสูจน์ และทดสอบต่อไป



ลักษณะของสมมติฐานวิจัยที่ดี 

การเขียนสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยต้องมีอุปกรณ์ของความคิดและข้อเท็จจริงต่างๆ มากพอเพื่อที่ให้สมมติฐานแต่ละข้อมีอำนาจในการพยากรณ์สูง ฉะนั้น การเขียนสมมติฐานจะต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ จินตนาการ การอ่านอย่างกว้างขวาง ตลอดจนมีการทดลองวิจัย (Pilot Study) แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ และใช้หลักตรรกศาสตร์สังเคราะห์ขึ้นเป็นสมมติฐาน ดังนั้น สมมติฐานที่ดีจึงควรมีลักษณะดังนี้

1. สมมติฐานที่ดีต้องอธิบาย หรือตอบคำถามได้หมด และอยู่ในรูปแบบที่สามารถสรุปได้ว่าจะสนับสนุนหรือคัดค้านได้

2. สมมติฐานที่ดีจะต้องสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไป ใช้เทคนิคที่สามารถวัดได้ และเป็นเทคนิคที่มีอยู่แพร่หลาย ใช้กันในวงกว้าง

3. ภาษาที่ใช้ในการเขียนต้องเข้าใจง่าย ทั้งในแง่ภาษา เหตุผล และวิธีการที่จะตรวจสอบ

4. สมมติฐานที่ดีต้องสามารถทดสอบได้ด้วยข้อมูล หรือหลักฐาน

5. สมมติฐานที่ดีต้องสมเหตุสมผลตามทฤษฎี และความรู้พื้นฐาน และจำกัดขอบเขตของการตรวจสอบได้ สมมติฐานหนึ่งข้อ จึงควรใช้คำถามเพียงหนึ่งข้อเท่านั้น

6. สมมติฐานที่ดีต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการวิจัย

7. สมมติฐานที่ดีต้องมีอำนาจการพยากรณ์สูง นั่นคือ สมมติฐานนั้นควรนำไปใช้อธิบายสภาพการณ์ที่คล้ายๆ กันได้

ประเภทของสมมติฐาน

1.   สมมติฐานการวิจัย  ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 2 ตัวขึ้นไป/ทิศทาง

ตัวอย่างเช่น  อายุ (ตัวแปรอิสระ)  น่าจะมีผล มีอิทธิพลเชิงบวก/เชิงลบ ต่อ การทำงาน ( ตัวแปรตาม )

2.   สมมติฐานทางสถิติ

§  สมมติฐานศูนย์ (Ho) บอกว่าตัวแปรที่ศึกษา มี/ไม่มี ความสัมพันธ์หรือ มี/ไม่มี ความแตกต่าง

§  สมมติฐานขัดแย้ง (H1) ตัวแปรที่ศึกษามีความสัมพันธ์กันหรือมีความแตกต่างกัน



ประเภทของสมมติฐาน

สมมติฐานแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. สมมติฐานเชิงบรรยาย (Descriptive hypothesis) เป็นสมมติฐานที่เขียนคาดเดา คำตอบของการวิจัย อยู่ในรูปของการบรรยาย หรืออธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาสมมติฐานประเภทนี้ ใช้ในการเขียนรายงานการวิจัย หรือเรียกว่าสมมติฐานการวิจัย (Research

hypothesis) ตัวอย่างสมมติฐานการวิจัย

ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่สูบบุหรี่  การสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับ การเป็นมะเร็งในปอด

2. สมมติฐานเชิงสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ เขียนคาดเดาคำตอบของการวิจัย อยู่ในรูปของความ สัมพันธ์หรือความแตกต่างของตัวแปร ในรูปของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้สัญลักษณ์แทนค่าพารามิเตอร์ (Parameter) สมมติฐานประเภทนี้ ใช้ในการทดสอบทาง สถิติ ความจริงที่ค้นพบจากการวิจัยเป็น ความจริงที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือมีโอกาสที่จะเป็นจริงมาก ซึ่งตรวจสอบโดยอาศัยหลักความน่าจะเป็น (Probability) ในทางสถิติสัญลักษณ์ของค่าพารามิเตอร์ ที่ใช้เขียนในสมมติฐานทางสถิติได้แก่

u แทนค่าคะแนนเฉลี่ย

O แทนค่าความแปรปรวน

O แทนค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

V แทนค่าสหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น