วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

กรอบแนวคิดและการตั้งสมมติฐานการวิจัย (ต่อ)


หลักการเลือกและประโยชน์ของกรอบแนวคิดในการวิจัย

กรอบแนวคิดที่ดีควรจะเป็นกรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระตัวแปรที่ต้องการศึกษา  มีความสอดคล้องกับความสนใจในเรื่องที่วิจัย  มีความง่ายและไม่สลับซับซ้อนมาก  และควรมีประโยชน์ในเชิงนโยบายหรือการพัฒนาสังคม
กรอบแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการวิจัยจะมีประโยชน์ต่อการดำเนินการวิจัยขั้นต่อ ๆ ไป  โดยเฉพาะในขั้นการรวบรวมข้อมูล  ขั้นการออกแบบการวิจัย  ขั้นการวิเคราะห์  และการตีความหมายผลการวิเคราะห์

การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
การนำเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยอาจทำได้หลายวิธี ดังนี้
1.     การเขียนบรรยาย โดยระบุตัวแปรที่ศึกษาและความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
2.     การเขียนแบบจำลองหรือสัญลักษณ์และสมการ    
3.     การเขียนแผนภาพ แสดงตัวแปรต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร
4.     การเขียนแบบผสมผสาน
หลักเกณฑ์ในการเขียนกรอบแนวคิดในการวิจัย
1.     ตัวแปรแต่ละตัวที่เลือกมาศึกษา หรือที่นำเสนอไว้ในกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีพื้นฐานเชิงทฤษฏีว่ามีความสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการศึกษา
2.     มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหาสาระ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม
3.     มีรูปแบบสอดคล้องกับความสนใจ หรือ วัตถุประสงค์ของการวิจัย
4.     ระบุรายละเอียดของตัวแปรและหรือสามารถแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ชัดเจนด้วยสัญลักษณ์หรือแผนภาพ
หลักในการเลือกกรอบแนวคิด
หลักสำคัญในการเลือกกรอบแนวคิดในการวิจัยทางการพยาบาล มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ คือ
1.   ความตรงประเด็น กรอบแนวคิดที่ตรงประเด็นของการวิจัย กล่าวคือ มีความตรงประเด็นในด้านเนื้อหา ซึ่งพิจารณาได้จากเนื้อหาของตัวแปรอิสระหรือตัวแปรที่ใช้ควบคุม และระเบียบวิธีที่ใช้ในการวิจัย ในกรณีที่มีแนวคิดหลายๆ แนวตรงกับหัวข้อเรื่องที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ผู้วิจัยควรเลือกแนวคิดที่ตนเองคิดว่าตรงกับประเด็นที่ต้องการศึกษามากที่สุด
2.   ความง่ายและไม่สลับซับซ้อน กรอบแนวคิดที่ควรจะเลือกควรเป็นกรอบที่ง่ายแก่การเข้าใจ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีทฤษฎีหลายทฤษฎีที่จะนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิด ผู้ที่ทำวิจัยควรเลือกทฤษฎีที่ง่ายที่สุดที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่ต้องการศึกษาได้พอๆกัน
3.   ความสอดคล้องกับความสนใจ กรอบแนวคิดที่ใช้ควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวแปร หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้ที่จะทำการวิจัย
4.   ความมีประโยชน์ต่อการปฏิบัติการพยาบาล การวิจัยนั้นควรมีกรอบแนวคิดสะท้อนถึงประโยชน์ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลด้วย
วิธีการสร้างกรอบแนวคิด
การสร้างกรอบแนวคิด เป็นการสรุปโดยภาพรวมว่างานวิจัยนั้นมีแนวคิดที่สำคัญอะไรบ้าง มีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ผู้วิจัยต้องนำข้อมูลจากหลายแหล่งมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับปัญหาวิจัยจริงๆ สิ่งสำคัญคือ ผู้วิจัยจำเป็นต้องศึกษาความรู้ในทฤษฎีนั้นๆ ให้มากพอ ทำความเข้าใจทั้งความหมายแนวคิดที่สำคัญของสมมติฐานจนสามารถเชื่อมโยงในเชิงเหตุผลให้เห็นเป็นกรอบได้อย่างชัดเจน การเชื่อมโยงของแนวคิดนี้ บางที่เรียกว่า รูปแบบ หรือตัวแบบ (model)

วิธีการสร้างกรอบแนวคิด กระทำได้ 2 ลักษณะ คือ
1. โดยการสรุปประเด็นต่างๆ จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้กระจ่าง
2. กำหนดจากกรอบทฤษฎีที่มีใช้ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษาวิจัย ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ได้ศึกษา เช่น การนำทฤษฎีการพยาบาลของรอย โอเร็ม มาใช้เป็นกรอบการวิจัยในการวิจัยเชิงบรรยายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาตัวแปร กรอบแนว คิดมักจะเป็นในลักษณะที่ 1 คือการสรุปประเด็นข้อมูล ส่วนในการวิจัยทดลอง จะต้องมีพื้นฐานทฤษฎี หลักการของการวิจัยที่ชัดเจน การกำหนดกรอบแนวคิดมักจะเป็นลักษณะที่ 2

วิธีการเขียนกรอบแนวคิด
ในการเขียนกรอบแนวคิด ผู้วิจัยจะต้องเขียนแสดงความสัมพันธ์ของแนวคิดในการวิจัยของตนให้ชัดเจน ในขอบเขตของเอกสารและงานวิจัยที่ศึกษา อาจเขียนไว้ท้ายก่อนหน้าส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 1) หรือ ท้ายส่วนของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง(ท้ายบทที่ 2) ก็ได้ รูปแบบการเขียนทำได้ 3 ลักษณะ คือ
1. เขียนแบบบรรยายต่อเนื่องกันโดยไม่แยกหัวข้อ ความยาวของการเขียนประมาณ 1 หน้ากระดาษ
2. เขียนเป็น แผนภูมิ แสดงความสัมพันธ์และทิศทางระหว่างตัวแปรที่ศึกษา หรือ
3. เขียนเป็นแผนภูมิประกอบคำบรรยายเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนขึ้น ถ้ามีตัวแปรหลายตัว หรือตัวแปรมีความสัมพันธ์สลับซับซ้อน

รูปแบบการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัย
กรอบแนวคิดในการวิจัยหมายถึง การระบุความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรชุดต่างๆ เป็นอย่างไร  กรอบแนวคิดในการวิจัยจึงแตกต่างจากขอบเขตของการวิจัย ผู้วิจัยจะพบเห็นการวางกรอบแนวคิดในการวิจัยไว้หลายที่ด้วยกัน วิทยานิพนธ์บางเล่มนําเสนอกรอบแนวคิดไว้ บทที่ 1 แต่การนําเสนอที่มีเหตุผลควรนําเสนอในบทที่ 2 เพราะกรอบแนวคิดในการวิจัยไม่ได้เกิดขึ้นจากสุญญากาศหรือโดยอัตโนมัติ แต่เกิดจากการศึกษาแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ รวมทั้งงานวิจัยที่มีมาแล้วหรือที่ใกล้เคียงทั้งในสาขาที่เกี่ยวข้องหรือสาขาอื่นๆ กรอบแนวคิดในการวิจัยที่สมบูรณต้องผ่านกระบวนการทําความชัดเจนในประเด็นคําถามของการวิจัยและการทบทวนแนวคิดทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแล้ว ซึ่งการนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยสามารถนําเสนอได้จำนวน 4 รูปแบบดังนี้
1. การนําเสนอเชิงบรรยาย เป็นการพรรณนาด้วยประโยคขอความต่อเนื่องเพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ชุดคือ ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรเหตุ กับตัวแปรตามหรือตัวแปรผลแต่ในการวิจัยบางประเภท เช่น การวิจัยเชิงสํารวจไม่มีการกําหนด ว่าตัวแปรใดเป็นตัวแปรอิสระหรือตัวแปรตาม การบรรยายจึงเป็นการอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ศึกษาชุดนั้น
2. การนําเสนอเชิงภาพ เป็นการนําเสนอด้วยแผนภาพจากการกลั่นกรองความเข้าใจของผู้วิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาของผู้วิจัยได้อย่างชัดเจน ซึ่งผู้อื่นที่อ่านเรื่องนี้เพียงแต่เห็นแผนภาพแล้วเข้าใจผู้วิจัยควรนําเสนอเฉพาะตัวแปรหลัก ไม่จําเป็นต้องมีรายละเอียดของตัวแปรในแผนภาพ
3. การนําเสนอแบบจําลองคณิตศาสตร์ เป็นการนําเสนอด้วยสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ชุดได้ชัดเจนและช่วยให้สามารถเลือกใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างเหมาะสม
4. การนําเสนอแบบผสม เป็นการนําเสนอผสมกันทั้ง 3 แบบหรือ ผสมกัน 2 แบบที่กล่าวมาข้างต้นงานวิจัยบางประเภทไม่จําเป็นต้องนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตามงานวิจัยประเภทนี้ต้องการจัดกลุ่มหรือจัดโครงสร้างของตัวแปร เช่นงานวิจัยที่ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัย (Factors analysis) หรืองานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นต้น
การนําเสนอกรอบแนวคิดในการวิจัยต้องยึดหลักว่านําเสนอแต่น้อยเรียบง่ายและไม่รกรุงรังดังนั้น ผู้วิจัยไม่จําเป็นต้องบอกรายละเอียดของตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมด เพราะจะต้องนําเสนอในหัวขอต่อไปอยู่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น