วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำอธิบายองค์ประกอบของโครงร่างวิจัย (ต่อ)

2.     ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)
              
                        หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ซึ่งอาจเรียกได้หลายอย่าง แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร
3.     วัตถุประสงค์ของการวิจัย (objectives)
                    ในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำศึกษาวิจัย ต้องชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึง สิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขต และคำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว การตั้งวัตถุประสงค์ ต้องให้สมเหตุสมผล กับทรัพยากรที่เสนอขอ และเวลาที่จะใช้ จำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ

        3.1    วัตถุประสงค์ทั่วไป (General Objective) กล่าวถึงสิ่งที่ คาดหวัง (implication) หรือสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนี้ เป็นการแสดงรายละเอียด เกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย ในระดับกว้าง จึงควรครอบคลุมงานวิจัยที่จะทำทั้งหมด

                  ตัวอย่าง  " การศึกษาพัฒนาแผนการจัดการลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านใหม่พัฒนา  อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง ปี 2555 "

        3.2    วัตถุประสงค์เฉพาะ (Specific Objective) จะพรรณนาถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริง ในงานวิจัยนี้ โดยอธิบายรายละเอียดว่า จะทำอะไร โดยใคร ทำมากน้อยเพียงใด ที่ไหน เมื่อไร และเพื่ออะไร โดยการเรียงหัวข้อ ควรเรียงตามลำดับความสำคัญ ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น

                  3.2.1   เพื่อศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของชุมชนต่อการจัดการลูกน้ำยุงลาย

                  3.2.2   เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการจัดการลูกน้ำยุงลายในชุมชนเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น