วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คำอธิบายองค์ประกอบของโครงร่างวิจัย (ต่อ)

2.     งบประมาณ (budget)

        การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัย ควรบ่างเป็นหมวดๆ ว่าแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าใด การแบ่งหมวดค่าใช้จ่ายทำได้หลายวิธี ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่งหมวด คือ แบ่งเป็น 8 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่

        12.1 เงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร

        12.2 ค่าใช้จ่ายสำหรับงานสนาม

        12.3 ค่าใช้จ่ายสำนักงาน

        12.4 ค่าครุภัณฑ์

        12.5 ค่าประมวลผลข้อมูล

        12.6 ค่าพิมพ์รายงาน

        12.7 ค่าจัดประชุมวิชาการ  เพื่อปรึกษาเรื่องการดำเนินงาน หรือเพื่อเสนอผลงานวิจัยเมื่อจบโครงการแล้ว

        12.8 ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

        อย่างไรก็ตาม แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัยแต่ละแห่งอาจกำหนดรายละเอียดของการเขียนงบประมาณแตกต่างกัน  ผู้ที่จะขอทุนวิจัยจึงควรศึกษาวิธีการเขียนงบประมาณของแหล่งทุนที่ตนต้องการขอทุนสนับสนุน และควรทราบถึงยอดเงินงบประมาณสูงสุดต่อโครงการที่แหล่งทุนนั้นๆ จะให้การสนับสนุนด้วย  เนื่องจากถ้าผู้วิจัยตั้งงบประมาณไว้สูงเกินไป โอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนก็จะมีน้อยมาก


13.  เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography)

        ตอนสุดท้ายของโครงร่างการวิจัย  จะต้องมี เอกสารอ้างอิง หรือรายการอ้างอิง อันได้แก่ รายชื่อหนังสือ สิ่งพิมพ์อื่น ๆ โสตทัศนวัสดุ ตลอดจนวิธีการ ที่ได้ข้อมูลมา เพื่อประกอบ การเอกสารวิจัยเรื่องนั้น ๆ รายการอ้างอิง จะอยู่ต่อจากส่วนเนื้อเรื่อง และก่อนภาคผนวก โดยรูปแบบที่ใช้ควรเป็นไปตามสากลนิยม เช่น Vancouver Style หรือ APA(American Psychological Association) style

 14.  ภาคผนวก (appendix)

        สิ่งที่นิยมเอาไว้ที่ภาคผนวก เช่น แบบสอบถาม แบบฟอร์มในการเก็บหรือบันทึกข้อมูล เมื่อภาคผนวก มีหลายภาค ให้ใช้เป็น ภาคผนวก ก ภาคผนวก ข ฯลฯ แต่ละภาคผนวก ให้ขึ้นหน้าใหม่

 15.  ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย (biography)

        ประวัติของผู้วิจัย เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนวิจัย ซึ่งถ้ามีผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใครเป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ
        หรือตัวอย่างของการทำ  >>> ตารางปฏิบัติงานโดยใช้ Gantt Chart
        ประวัติผู้ดำเนินการวิจัย ควรประกอบด้วยประวัติส่วนตัว (เช่น อายุ เพศ การศึกษา) ประวัติการทำงาน และผลงานทางวิชาการต่างๆ

-------------------------------------------------

บุญเสริม วีสกุล. (2517). สถิติตอนที่ 1 : วิธีเก็บและประมวลผลข้อมูล. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

พจน์ สะเพียรชัย. (2516). หลักเบื้องต้นสำหรับการวิจัยทางการศึกษา เล่ม 1. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยวิชาการศึกษา        ประสานมิตร

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6 ). กรุงเทพฯ:

ภิรมย์ กมลรัตนกุล.(2547).หลักการวิจัยทางการแพทย์.(ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา


                        โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (25 พฤศจิกายน 2547)

สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2538). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ:

                        สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


Ackoff, R. L. (1953). The design of social research. Chicago: The University of Chicago Press.

Babbie, E. (1986). The practice of social research. (4th ed.). Belmont, CA: Wadsworth Publishing.

Baker, T. L. (1994). Doing social research (2nd ed.). Singapore: McGraw-Hill, Inc.

Blalock, H. M. (1972). Social statistics. (2nd ed.). Tokyo: Tosho Printing Co., Ltd.

Hoinville, G., & Jowell, R. (1978). Survey research practice. London: Heinemann Educational Books Ltd.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น